วันอาทิตย์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

การเลือกซื้อ Mainboard (เมนบอร์ด)

การเลือกซื้อ Mainboard (เมนบอร์ด)

คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่เข้ามามีส่วนสำคัญต่อการดำรงชีพของคนทั่วโลกและอาจเรียกได้ว่าคอมพิวเตอร์เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเลยก็ว่าได้ คอมพิวเตอร์ถือ เป็นเทคโนโลยีที่ได้รับการขนานนามให้เป็นสิ่งมหัศจรรย์ของโลกทางเทคโนโลยีเลยทีเดียว อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทุกชนิดผ่านการสรรค์สร้างจากมันสมองอันชาญ ฉลาดของมนุษย์เพื่อให้ได้มาซึ่ง เทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุดและที่สำคัญที่สุดคือตอบสนองความต้องการของมนุษย์ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่สำคัญและถือเป็นตัวกลาง ที่เชื่อมต่อการทำงานกับอุปกรณ์ทุกชิ้นที่ใช้ภายใน คอมพิวเตอร์เพื่อให้ได้มาซึ่งการทำงานที่มีประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์นั่นคือ Mainboard (เมนบอร์ด)

Mainboard (เมนบอร์ด) หนึ่งในอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่ถือว่าเป็นเหมือนฐานรากหลักของระบบการทำงานภายในเครื่องคอมพิวเตอร์เพราะมันจะเป็นส่วนที่เชื่อมต่อการทำงานของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ทั้งหมดที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์โดยงตรง ไม่ว่าจะเป็นซีพียู หน่วยความจำ ฮาร์ดไดรฟ์ ซีดีรอมไดรฟ์ ดีวีดีรอมไดรฟ์ ที่ผ่านทางสายเคเบิลหรือแม้แต่การ์ดแสดงผล และการ์ดเสียงก็ล้วนแล้วแต่ต้องทำงานโดยผ่านทาง Mainboard (เมนบอร์ด) ทั้งสิ้น

Mainboard (เมนบอร์ด) ที่คุณเห็นวางจำหน่ายตามศูนย์การค้าหรือร้านค้าอุปกรณ์ไอทีต่างๆ ถูกนำเข้าโดยบริษัทจัดจำหน่ายทั่วไปที่มีการเซ็นสัญญาแต่งตั้งเป็นตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการ ผลิตภัณฑ์ Mainboard (เมนบอร์ด) ส่วนใหญ่แล้วจะเป็น Mainboard (เมนบอร์ด) สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพีซี ในส่วนของ Mainboard (เมนบอร์ด) สำหรับโน้ตบุ๊กและเครื่องเซิร์ฟเวอร์นั้นยังมีให้เห็นกันไม่มากนัก สำหรับ Mainboard (เมนบอร์ด) เครื่องคอมพิวเตอร์แบบพีซีนั้นส่วนใหญ่จะแบ่งแยกตามการรองรับโพรเซสเซอร์ที่มีวางจำหน่ายจากทางค่าย Intel และ AMD โดยแบ่งออกเป็น ซ็อกเก็ต A (462), ซ็อกเก็ต 478, ซ็อกเก็ต 754 และล่าสุดกับแพลตฟอร์มใหม่ที่กำลังได้รับการจับตามองของผู้ใช้งานทุกกลุ่มและเป็นนิยมกันอยู่ในขณะนี้คงหนีไม่พ้นซ็อกเก็ต 775 และ ซ็อกเก็ต 939 ซึ่งยังคงได้รับการพัฒนาขีดความสามารถอย่างต่อเนื่องภายใต้ผู้ผลิต Mainboard (เมนบอร์ด) ชั้นนำระดับโลก ไม่ว่าจะเป็นยักใหญ่ระดับหัวแถวแห่งวงการ Mainboard (เมนบอร์ด) ของโลกอาทิ ASUS, GIGBYTE, MSI, DFI, ABIT, ASROCK ฯลฯ


ปัจจัยการเลือกซื้อ Mainboard (เมนบอร์ด) นั้น ส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับการเลือกใช้อุปกรณ์ที่คุณต้องการนำมาใช้งานเป็นหลักโดยส่วนที่สำคัญมากในการ เลือก Mainboard (เมนบอร์ด) นั่นก็คือ ซีพียูนั่นเองครับ ยกตัวอย่างถ้าคุณต้องการใช้งานซีพียูของทางค่าย AMD ไม่ว่าจะเป็น Athlon XPหรือ Duron ก็ตามคุณก็ต้องเลือกซื้อ Mainboard (เมนบอร์ด) ที่รองรับการ ทำงานของซีพียูที่เป็นแบบ Socket A หลังจากนั้นก็เป็นในส่วนของหน่วยความจำว่าจะเลือกใช้แบบไหน DDR-SDRAMหรือ SDRAM ( DDR SDRAM เพื่ออนาคตที่สดใสกว่า)หรืออาจจะใช้ทั้ง DDR-SDRAM และ SDRAM ก็ได้คุณก็ต้องเลือกซื้อ Mainboard (เมนบอร์ด) ที่สนับสนุนการทำงานกับหน่วยความแบบดังกล่าว เป็นต้น ใน Mainboard (เมนบอร์ด) บางรุ่นจะนำระบบเสียงหรือระบบประมวลผลภาพ(VGA)ไว้ในตัว ดังนั้น คุณอาจไม่จำเป็นต้องเลือกซื้ออุปกรณ์ทั้งสองประเภทนี้ ในขณะที่ Mainboard (เมนบอร์ด) บางรุ่นก็จะรวมเอา LAN (local area network) ไว้ในตัวด้วย ทำให้คุณไม่ต้องเสียเงินซื้อการ์ดเน็ตเวิร์กสำหรับใช้ท่องโลกอินเทอร์เน็ต (เหมาะสำหรับ ผู้ที่มีงบซื้อจำกัด) แต่ถ้าใน Mainboard (เมนบอร์ด) ที่คุณเลือกซื้อไม่มีอุปกรณ์ดังที่กล่าวในตัว คุณก็จำต้องจ่ายเงินเพิ่ม เพื่อซื้ออุปกรณ์ต่างๆ เหล่านั้นทีหลัง ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับ ราคาแล้วบางทีก็แพงกว่าการซื้อแบบรวมเสียอีกแต่ประสิทธิภาพจะไม่ดีเท่ากับอุปกรณ์ที่แยกชิ้นประกอบอย่างไรก็ตามเมื่อจะ ซื้อ Mainboard (เมนบอร์ด) ให้กับเครื่อง คอมพิวเตอร์ ของคุณแล้วก็ต้องดูให้ระเอียดกันหน่อย อย่านิยมเลือกเอาแต่ประหยัดอย่างเดียว การใช้งานคอมพิวเตอร์สำคัญที่สุด ถึงแม้ Mainboard (เมนบอร์ด) จะเป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่สำคัญ แต่ราคาของ Mainboard (เมนบอร์ด) นั้นไม่ได้มีราคาแพงมากมายนักรวมถึงยังมีให้เลือกใช้มากมายหลายรุ่นตามความเหมาะสมของผู้ใช้ โดย Mainboard (เมนบอร์ด) ราคาประหยัดเริ่มต้นอยู่ที่ประมาณพันกว่าบาท และไต่ระดับไปถึงช่วงราคาสำหรับกลุ่มผู้ใช้งานระดับกลางที่ 3,000-5,000 บาท หลังจากนั้นถือเป็นราคาสำหรับผู้ใช้งานระดับสูงที่ราคาสูงทะลุหมื่นบาทไปเลยทีเดียว โดยบริษัทผู้ผลิต Mainboard (เมนบอร์ด) ที่ได้รับความนิยม หรือพูดง่ายๆ ก็คือแบรนด์เนมของ Mainboard (เมนบอร์ด) ติดตลาดผู้ซื้อ ก็เห็นจะมี ASUS, ABIT, GIGABYTE , MSI, ASROCK
คุณสมบัติที่สำคัญของ Mainboard (เมนบอร์ด) ในปัจจุบันที่ต้องพิจารณาก่อนทำการเลือกซื้อนั้นนอกเหนือจากราคาที่ผู้ใช้ต้องเป็นผู้กำหนด อาทิ ความยืดหยุ่นในการรองรับการทำงานของระบบฮาร์ดแวร์ เทคโนโลยีที่สนับสนุนการทำงาน ช่องสัญญาณในการรองรับการใช้งาน อุปกรณ์ต่อพ่วงอื่น ๆ ที่มาพร้อมกับตัว Mainboard (เมนบอร์ด) ทางที่ดีควรจะมีเอาไว้ก่อน และที่สำคัญนั้นก็คือการรับประกันที่คุณมิควรมองข้ามนั่นเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น